ขนาดและน้ำหนักของจดหมายทางอากาศ พัสดุระหว่างประเทศ และบริการโลจิสโพสต์เวิลด์ที่สามารถฝากส่งได้
จดหมายทางอากาศ คือ ไปรษณียภัณฑ์ชนิดจดหมายที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษเขียนจดหมายพับเป็นซองได้ในตัว น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 2 กก. ขนาดอย่างสูงไม่เกิน 110×220 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) ขนาดอย่างต่ำ ไม่ต่ำกว่า 90×140 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) แต่ด้านยาวต้องไม่ต่ำกว่า 1.4 เท่าของด้านกว้าง
พัสดุระหว่างประเทศ เป็นการส่งระหว่างประเทศ เหมาะสำหรับสิ่งบรรจุที่มีลักษณะเป็นสิ่งของทั่วไป น้ำหนักอย่างสูง ไม่เกิน 30 กิโลกรัม ขนาดอย่างสูง แต่ละด้านยาวไม่เกิน 1,500 มม. และด้านยาวที่สุดรวมกับความยาววัดโดยรอบตัวห่อพัสดุไปรษณีย์ ส่วนที่ใหญ่ที่สุดในทิศทางของด้านอื่นซึ่งมิใช่ด้านที่มีความยาวที่สุดต้องไม่เกิน 3,000 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) ขนาดอย่างต่ำ ไม่ต่ำกว่า 90 x 140 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) ถ้าเป็นม้วนกลม ด้านยาวบวกกับสองเท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 170 มิลลิเมตร แต่ด้านยาวที่สุดไม่ต่ำกว่า 100 มิลลิเมตร (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร)
บริการโลจิสโพสต์เวิลด์ บริการจัดส่งสิ่งของขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ (ทางอากาศ) ถึงที่อยู่ผู้รับ เหมาะสำหรับของที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักมากตั้งแต่ 20-200 กิโลกรัม ขนาดไม่เกินด้านละ 150 x 200 x 150 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลของขนาดและน้ำหนักสำหรับบริการแต่ละประเภทได้จาก https://www.thailandpost.co.th/th/index/ หัวข้อ สินค้าและบริการ”
ตอนนี้สิ่งของอยู่ที่ไหน
หากเลือกใช้บริการที่สามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของได้ ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของผ่าน 7 ช่องทางดังนี้
1) https://www.thailandpost.co.th/th/index/ หัวข้อ ตรวจสอบสถานะ EMSและไปรษณีย์ลงทะเบียน ทางด้านขวาของหน้าเว็บไซต์
2) เฟซบุ๊ก อินบ็อกซ์ “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” www.facebook.com/thailandpost.co.th
3) ทาง LINE Official : @thailandpost
4) ทวิตเตอร์: @Thailandpost
5) อีเมล์ [email protected]
6) THP Contact Center 1545
7) Pantip : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ทั้งนี้ การขอรับการตรวจสอบผ่านช่องทางต่างๆ ข้างต้น ผู้ใช้บริการต้องแจ้งรายละเอียดการฝากส่ง อาทิ หมายเลขพัสดุ ชื่อ-ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รับและผู้ฝากส่ง ประเภทการฝากส่ง เป็นต้น เพื่อให้ขั้นตอนการตรวจสอบเป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถแจ้งผลแก่ผู้ใช้บริการต่อไป
บริการแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
การฝากส่งสิ่งของแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันตามน้ำหนัก ขนาด ความเร็วในการนำจ่าย อัตราการชดใช้ และบริการเสริม โดยที่ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บริการของเรา
มาตรฐานการนำจ่าย
มาตรฐานการนำจ่ายบริการ EMS/ AIRMAIL/ SAL/ SURFACE ระหว่างประเทศจะใช้ระยะเวลาโดยประมาณ
- EMS 3-5 วันทำการ
- AIR 10-15 วันทำการ
- SAL 30-45 วันทำการ
- Surface 75 วันทำการโดยระยะเวลาข้างต้นนี้เป็นการกำหนดโดยประมาณ ซึ่งนับถัดจากวันฝากส่ง 1 วัน และอาจเเตกต่างออกไปตามเเต่ละพื้นที่นำจ่ายในประเทศปลายทาง สถานที่ เเละเวลาฝากส่ง และระยะเวลาในข้างต้นจะไม่นับรวมวันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันที่ดำเนินกระบวนการทางศุลกากร ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/product/122/927
ส่งสิ่งของมีค่า เงินและอัญมณีได้หรือไม่
สิ่งของมีค่า เช่น ทองคำ ทองคำขาว เงิน หินมีค่า เครื่องเพชร พลอย เหรียญกษาปณ์ พันธบัตร ตั๋วแลกเงินหรือตราสารใด ๆ ที่สั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือทุกชนิด เช็คเดินทางหรือสิ่งของมีค่าอื่น ๆ เป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่งด้วยบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ระหว่างประเทศ
โดยสิ่งของดังกล่าวสามารถฝากส่งด้วยบริการจดหมายและพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศโดยใช้บริการรับประกันเพิ่มเติม และจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประเทศปลายทางกำหนด
Ref: https://file.thailandpost.com/upload/content/_5d5cc7b79b3e1.pdf
ส่งสิ่งของแบบไหนดี
ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการตามความเหมาะสมของมูลค่าของสิ่งของที่ฝากส่ง ขนาด น้ำหนัก และมาตรฐานการนำจ่าย
สิ่งของต้องห้ามฝากส่งของแต่ละประเทศมีอะไรบ้าง
ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 ข้อ 19 และ ข้อ 22 สิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์มีดังต่อไปนี้
ข้อ 19 สิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มีดังต่อไปนี้
19.1 วัตถุมีคมที่ไม่มีเครื่องหุ้มห่อป้องกันพอ หรือวัตถุระเบิด หรือสิ่งโสโครก หรือสิ่งมีพิษ หรือสัตว์มีชีวิต หรือสิ่งของที่มีสภาพอันน่าจะก่อให้เกิดอันตราย หรือเสียหายแก่ไปรษณียภัณฑ์ในระหว่างส่งทางไปรษณีย์ หรือแก่เจ้าพนักงาน เว้นไว้แต่จะมีข้อบังคับหรือเงื่อนไขกล่าวไว้ เป็นอย่างอื่น
19.2 ไปรษณียภัณฑ์อันเห็นได้ประจักษ์ว่ามีถ้อยคำเครื่องหมาย หรือลวดลาย เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน หรือหยาบช้า ลามก หรือเป็นที่ยุยงส่งเสริมให้มีการกำเริบ หรือหยาบคาย หรือขู่เข็ญ หรือกรรโชก หรือผรุสวาทอย่างร้ายแรง หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย
ข้อ 22 นอกจากสิ่งของต้องห้ามที่กำหนดในข้อ 19 แล้ว ยังให้ถือว่าสิ่งต่อไปนี้ เป็นสิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์
22.1 สิ่งเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่คณะกรรมการควบคุม สิ่งเสพติดระหว่างประเทศกำหนด หรือยาอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตและถือเป็นสิ่งของต้องห้ามในประเทศปลายทาง
22.2 สิ่งลามกอนาจารหรือผิดศีลธรรม
22.3 สิ่งของปลอมแปลงหรือลอกเลียนแบบโดยละเมิดลิขสิทธิ์
22.4 ธนบัตร
22.5 สิ่งของอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้าหรือเผยแพร่ในประเทศ ปลายทาง
22.6เ อกสารซึ่งมีลักษณะเป็นข่าวสารส่วนตัวซึ่งแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลอื่น ที่นอกเหนือไปจากผู้ฝากส่งและผู้รับ หรือบุคคลที่อาศัยอยู่กับผู้ฝากส่ง และผู้รับ
22.7 วัตถุไวไฟ หรือสินค้าอันตรายอื่นๆ
22.8 อุปกรณ์ระเบิดที่ไม่มีแรงระเบิดและอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมทั้ง ระเบิดมือที่ไม่มีแรงระเบิด ปลอกกระสุนที่ไม่มีแรงระเบิดและสิ่งเทียม หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน
นอกจากนี้ การฝากส่งสิ่งของเข้าสู่เส้นทางไปรษณีย์ทางอากาศยังมีรายชื่อสิ่งของต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ชนิดดังนี้
- สารออกซิไดซ์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์
- ก๊าซหรือกระป๋องสเปรย์
- สารกัดกร่อน
- วัตถุและสารต้องห้ามในการขนส่งทางอากาศ อาทิ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ โดยหากมีการตรวจพบการฝ่าฝืน จะมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใช้บริการสามารถค้นหารายละเอียดสิ่งของต้องห้ามของแต่ละประเทศได้จากแผนที่ประเทศในหน้าแรก หรือระบบค้นหาประเทศและบริการของเว็บเพจ หรือสอบถามได้จากที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง หรือ THP Contact Center 1545
อัตราชดใช้กรณีสิ่งของสูญหาย/เสียหาย
1. ไปรษณีย์ลงทะเบียนชดใช้ตามจริงไม่เกิน 1,380 บาท (ไม่รวมค่าฝากส่ง)
2. ePacket ขาออกระหว่างประเทศ จะไม่มีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายในทุกกรณี แต่สามารถใช้บริการ ePacket Plus โดยชำระค่าบริการเพิ่มอีก 30 บาท เพื่อรับความคุ้มครองกรณีเสียหาย/สูญหาย โดยชดใช้สูงถึง 1,500 บาท
3. พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศชดใช้ตามจริงไม่เกิน 1,840 บาทต่อกล่อง และ 207 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมค่าฝากส่ง)
4. ไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ
document : พิจารณาตามจริงไม่เกิน 3,000 บาท
package : พิจารณาตามจริงไม่เกิน 7,000 บาท
5. Courier Post วงเงินชดใช้กรณีสูญหาย/เสียหายเพราะความผิดพลาดของไปรษณีย์จะชดใช้ตามมูลค่าที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน5,000 บาทสำหรับ Document และ 10,000 บาท สำหรับ Package (Merchandise) ทั้งนี้ สามารถใช้คู่กับบริการพิเศษ ได้แก่ บริการไปรษณีย์รับประกันวงเงินรับประกันสูงสุด 1,000 SDR (SDR = Special Drawing Right ค่าเทียบเสมอภาคระหว่างเงินบาทกับสิทธิพิเศษถอนเงินกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี)