Please add Image or Slider Widget in Appearance Widgets Page Banner.
If you would like to use different Widgets on each page, we reccommend Widget Context Plugin.

ขนาดและน้ำหนักของจดหมายทางอากาศ พัสดุระหว่างประเทศ และบริการโลจิสโพสต์เวิลด์ที่สามารถฝากส่งได้

จดหมายทางอากาศ คือ ไปรษณียภัณฑ์ชนิดจดหมายที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษเขียนจดหมายพับเป็นซองได้ในตัว น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 2 กก. ขนาดอย่างสูงไม่เกิน 110×220 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) ขนาดอย่างต่ำ ไม่ต่ำกว่า 90×140 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) แต่ด้านยาวต้องไม่ต่ำกว่า 1.4 เท่าของด้านกว้าง

พัสดุระหว่างประเทศ เป็นการส่งระหว่างประเทศ เหมาะสำหรับสิ่งบรรจุที่มีลักษณะเป็นสิ่งของทั่วไป น้ำหนักอย่างสูง ไม่เกิน 30 กิโลกรัม ขนาดอย่างสูง แต่ละด้านยาวไม่เกิน 1,500 มม. และด้านยาวที่สุดรวมกับความยาววัดโดยรอบตัวห่อพัสดุไปรษณีย์ ส่วนที่ใหญ่ที่สุดในทิศทางของด้านอื่นซึ่งมิใช่ด้านที่มีความยาวที่สุดต้องไม่เกิน 3,000 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) ขนาดอย่างต่ำ ไม่ต่ำกว่า 90 x 140 มม. (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มม.) ถ้าเป็นม้วนกลม ด้านยาวบวกกับสองเท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 170 มิลลิเมตร แต่ด้านยาวที่สุดไม่ต่ำกว่า 100 มิลลิเมตร (คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร)

บริการโลจิสโพสต์เวิลด์ บริการจัดส่งสิ่งของขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ (ทางอากาศ) ถึงที่อยู่ผู้รับ เหมาะสำหรับของที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักมากตั้งแต่ 20-200 กิโลกรัม ขนาดไม่เกินด้านละ 150 x 200 x 150 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลของขนาดและน้ำหนักสำหรับบริการแต่ละประเภทได้จาก https://www.thailandpost.co.th/th/index/ หัวข้อ สินค้าและบริการ”

ต้องการถอนคืนสิ่งของ

บริการขอถอนคืน (Withdrawal from the post ) คือ บริการที่ ปณท ยินยอมให้ผู้ฝากส่งขอถอนคืนสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ตนได้ฝากส่งไปแล้วและยังมิได้นำจ่ายแก่ผู้รับหรือมิได้เป็นสิ่งของต้องห้ามหรือมิได้ถูกยึดหรือริบตามกฎหมาย ซึ่งมีเงื่อนไขการใช้บริการดังนี้

  • บริการนี้ใช้ได้กับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในประเทศและระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี การไปรษณีย์ต่างประเทศบางแห่งอาจมีข้อสงวนไม่ยอมรับบริการนี้ (สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง หรือ THP Contact Center 1545)
  • ผู้ฝากส่งที่ประสงค์จะขอถอนคืน ต้องยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง (เว้นแต่มีความจำเป็นจึงยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์อื่นได้) โดยแสดงหลักฐานประจำตัว หลักฐานการรับฝาก (ถ้ามี) และตัวอย่างจ่าหน้าสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ต้องการขอถอนคืน พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการขอถอนคืน (ในประเทศ 4 บาท ระหว่างประเทศ 25 บาท)
  • ตามปกติเมื่อ ปณท ได้รับคำขอถอนคืน จะแจ้งให้ที่ทำการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำขอโดยเร็วที่สุด แต่การดำเนินการดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของการไปรษณีย์ต่างปรเทศที่เกี่ยวข้องด้วย
    (Ref: https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/faq/94/1436)

ต้องการร้องเรียน ติดต่อทางไหนได้บ้าง

ผู้ใช้บริการสามารถส่งเรื่องร้องเรียนผ่านทาง

  1. https://www.thailandpost.co.th
  2. ทาง E-mail : [email protected]
  3. ทางโทรศัพท์ : 1545 หรือ 0 2831 3600
  4. เฟซบุ๊ก อินบ็อกซ์ “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” www.facebook.com/thailandpost.co.th
  5. ที่ทำการไปรษณีย์

ตอนนี้สิ่งของอยู่ที่ไหน

หากเลือกใช้บริการที่สามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของได้ ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของผ่าน 7 ช่องทางดังนี้

1) https://www.thailandpost.co.th/th/index/ หัวข้อ ตรวจสอบสถานะ EMSและไปรษณีย์ลงทะเบียน ทางด้านขวาของหน้าเว็บไซต์
2) เฟซบุ๊ก อินบ็อกซ์ “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” www.facebook.com/thailandpost.co.th
3) ทาง LINE Official : @thailandpost
4) ทวิตเตอร์: @Thailandpost
5) อีเมล์ [email protected]
6) THP Contact Center 1545
7) Pantip : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ทั้งนี้ การขอรับการตรวจสอบผ่านช่องทางต่างๆ ข้างต้น ผู้ใช้บริการต้องแจ้งรายละเอียดการฝากส่ง อาทิ หมายเลขพัสดุ ชื่อ-ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รับและผู้ฝากส่ง ประเภทการฝากส่ง เป็นต้น เพื่อให้ขั้นตอนการตรวจสอบเป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถแจ้งผลแก่ผู้ใช้บริการต่อไป

ติดต่อ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผ่านทางช่องทางไหนได้บ้าง

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด – สำนักงานใหญ่
111 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศัพท์ : 0 2831 3131
เว็บไซต์ : www.thailandpost.co.th
Facebook : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
Twitter : @Thailand_Post
LINE Official : @thailandpost
THP Contact Center 1545
โทรศัพท์ : 1545 หรือ 0 2831 3600
E-mail : [email protected]

ที่ทำการไปรษณีย์ไทยเปิด/ปิดกี่โมง หยุดวันไหนบ้าง

ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูล สถานที่ตั้ง เวลาทำการของที่ทำการไปรษณีย์ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.thailandpost.co.th/th/index/ ที่หัวข้อ ค้นหาที่ทำการไปรษณีย์

บริการแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

การฝากส่งสิ่งของแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันตามน้ำหนัก ขนาด ความเร็วในการนำจ่าย อัตราการชดใช้ และบริการเสริม โดยที่ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บริการของเรา

ฝากส่งสิ่งของไปแล้วแต่ต้องการแก้ไขข้อมูล

บริการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า (Alteration or correction of address) คือ บริการที่ ปณท ยินยอมให้ผู้ฝากส่งแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้าสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ตนได้ฝากส่งไปแล้วและยังมิได้นำจ่ายแก่ผู้รับหรือมิได้เป็นสิ่งของต้องห้ามหรือมิได้ถูกยึดหรือริบตามกฎหมาย ซึ่งมีเงื่อนไขการใช้บริการดังนี้

  • บริการนี้ใช้ได้กับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในประเทศและระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี การไปรษณีย์ต่างประเทศบางแห่งอาจมีข้อสงวนไม่ยอมรับบริการนี้ (สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง หรือ THP Contact Center 1545)
  • ผู้ฝากส่งที่ประสงค์จะขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า ต้องยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง (เว้นแต่มีความจำเป็นจึงยื่นคำขอต่อที่ทำการไปรษณีย์อื่นได้) โดยแสดงหลักฐานประจำตัว หลักฐานการรับฝาก (ถ้ามี) และตัวอย่างจ่าหน้าสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่ต้องการขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้า (ในประเทศ 4 บาท ระหว่างประเทศ 25 บาท)
  • ตามปกติเมื่อ ปณท ได้รับคำขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงจ่าหน้าจะแจ้งให้ที่ทำการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำขอโดยเร็วที่สุด แต่การดำเนินการดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของการไปรษณีย์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย (Ref: https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/faq/94/1436)

มาตรฐานการนำจ่าย

มาตรฐานการนำจ่ายบริการ EMS/ AIRMAIL/ SAL/ SURFACE ระหว่างประเทศจะใช้ระยะเวลาโดยประมาณ

  • EMS 3-5 วันทำการ
  • AIR 10-15 วันทำการ
  • SAL 30-45 วันทำการ
  • Surface 75 วันทำการโดยระยะเวลาข้างต้นนี้เป็นการกำหนดโดยประมาณ ซึ่งนับถัดจากวันฝากส่ง 1 วัน และอาจเเตกต่างออกไปตามเเต่ละพื้นที่นำจ่ายในประเทศปลายทาง สถานที่ เเละเวลาฝากส่ง และระยะเวลาในข้างต้นจะไม่นับรวมวันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันที่ดำเนินกระบวนการทางศุลกากร ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/product/122/927

มีคนอื่นรับสิ่งของไปต้องทำอย่างไร

หากผู้รับยังไม่ได้รับสิ่งของ แต่มีบุคคลอื่นเซ็นชื่อรับสิ่งของ ผู้ใช้บริการสามารถส่งเรื่องสอบสวนผ่านทาง
1. https://www.thailandpost.co.th/un/form/complaints/?form_id=3
2. ทาง E-mail : [email protected]
3. ทางโทรศัพท์ : 1545 หรือ 0 2831 3600
4. เฟซบุ๊ก อินบ็อกซ์ “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” www.facebook.com/thailandpost.co.th
5. ที่ทำการไปรษณีย์

ส่งสิ่งของมีค่า เงินและอัญมณีได้หรือไม่

สิ่งของมีค่า เช่น ทองคำ ทองคำขาว เงิน หินมีค่า เครื่องเพชร พลอย เหรียญกษาปณ์ พันธบัตร ตั๋วแลกเงินหรือตราสารใด ๆ ที่สั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือทุกชนิด เช็คเดินทางหรือสิ่งของมีค่าอื่น ๆ เป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่งด้วยบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ระหว่างประเทศ

โดยสิ่งของดังกล่าวสามารถฝากส่งด้วยบริการจดหมายและพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศโดยใช้บริการรับประกันเพิ่มเติม และจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประเทศปลายทางกำหนด

Ref: https://file.thailandpost.com/upload/content/_5d5cc7b79b3e1.pdf

ส่งสิ่งของแบบไหนดี

ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการตามความเหมาะสมของมูลค่าของสิ่งของที่ฝากส่ง ขนาด น้ำหนัก และมาตรฐานการนำจ่าย

สิ่งของต้องห้ามฝากส่งของแต่ละประเทศมีอะไรบ้าง

ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 ข้อ 19 และ ข้อ 22 สิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์มีดังต่อไปนี้

ข้อ 19 สิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มีดังต่อไปนี้
19.1 วัตถุมีคมที่ไม่มีเครื่องหุ้มห่อป้องกันพอ หรือวัตถุระเบิด หรือสิ่งโสโครก หรือสิ่งมีพิษ หรือสัตว์มีชีวิต หรือสิ่งของที่มีสภาพอันน่าจะก่อให้เกิดอันตราย หรือเสียหายแก่ไปรษณียภัณฑ์ในระหว่างส่งทางไปรษณีย์ หรือแก่เจ้าพนักงาน เว้นไว้แต่จะมีข้อบังคับหรือเงื่อนไขกล่าวไว้ เป็นอย่างอื่น
19.2 ไปรษณียภัณฑ์อันเห็นได้ประจักษ์ว่ามีถ้อยคำเครื่องหมาย หรือลวดลาย เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน หรือหยาบช้า ลามก หรือเป็นที่ยุยงส่งเสริมให้มีการกำเริบ หรือหยาบคาย หรือขู่เข็ญ หรือกรรโชก หรือผรุสวาทอย่างร้ายแรง หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย

ข้อ 22 นอกจากสิ่งของต้องห้ามที่กำหนดในข้อ 19 แล้ว ยังให้ถือว่าสิ่งต่อไปนี้ เป็นสิ่งของต้องห้ามส่งทางไปรษณีย์
22.1 สิ่งเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่คณะกรรมการควบคุม สิ่งเสพติดระหว่างประเทศกำหนด หรือยาอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตและถือเป็นสิ่งของต้องห้ามในประเทศปลายทาง
22.2 สิ่งลามกอนาจารหรือผิดศีลธรรม
22.3 สิ่งของปลอมแปลงหรือลอกเลียนแบบโดยละเมิดลิขสิทธิ์
22.4 ธนบัตร
22.5 สิ่งของอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้าหรือเผยแพร่ในประเทศ ปลายทาง
22.6เ อกสารซึ่งมีลักษณะเป็นข่าวสารส่วนตัวซึ่งแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลอื่น ที่นอกเหนือไปจากผู้ฝากส่งและผู้รับ หรือบุคคลที่อาศัยอยู่กับผู้ฝากส่ง และผู้รับ
22.7 วัตถุไวไฟ หรือสินค้าอันตรายอื่นๆ
22.8 อุปกรณ์ระเบิดที่ไม่มีแรงระเบิดและอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมทั้ง ระเบิดมือที่ไม่มีแรงระเบิด ปลอกกระสุนที่ไม่มีแรงระเบิดและสิ่งเทียม หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน

นอกจากนี้ การฝากส่งสิ่งของเข้าสู่เส้นทางไปรษณีย์ทางอากาศยังมีรายชื่อสิ่งของต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ชนิดดังนี้

  1. สารออกซิไดซ์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์
  2. ก๊าซหรือกระป๋องสเปรย์
  3. สารกัดกร่อน
  4. วัตถุและสารต้องห้ามในการขนส่งทางอากาศ อาทิ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแบตเตอรี่ โดยหากมีการตรวจพบการฝ่าฝืน จะมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 80,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใช้บริการสามารถค้นหารายละเอียดสิ่งของต้องห้ามของแต่ละประเทศได้จากแผนที่ประเทศในหน้าแรก หรือระบบค้นหาประเทศและบริการของเว็บเพจ หรือสอบถามได้จากที่ทำการไปรษณีย์ที่ฝากส่ง หรือ THP Contact Center 1545

สิ่งของที่ได้รับความเสียหายต้องทำอย่างไร

กรณีสิ่งบรรจุภายในสูญหายหรือเสียหาย เมื่อผู้รับได้รับสิ่งของแล้ว ขอให้รีบแจ้ง ที่ทำการไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้ทราบภายใน 24 ชม. หรือโดยเร็วที่สุด จากนั้นขอให้ติดต่อผู้ฝากส่งเพื่อให้ผู้ฝากส่งทำเรื่องตรวจสอบ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง

เมื่อดำเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วหากพบว่าเกิดการสูญหายหรือเสียหายในเส้นทางไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง จะแจ้งให้ผู้ฝากมาติดต่อรับเงิน ชดใช้ค่าเสียหาย (สิทธิ์ในการรับเงินชดใช้จะเป็นของผู้ฝากส่ง หากผู้รับประสงค์จะเป็นผู้รับเงิน ผู้ฝากส่งจะต้องทำหนังสือโอนสิทธิ์การรับเงินชดใช้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง ที่ผู้ฝากส่งแจ้งเรื่องร้องเรียนในครั้งแรก)

สิ่งของสูญหายต้องทำอย่างไร

กรณีสิ่งบรรจุภายในสูญหายหรือเสียหาย เมื่อผู้รับได้รับสิ่งของแล้ว ขอให้รีบแจ้ง ที่ทำการไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้ทราบภายใน 24 ชม. หรือโดยเร็วที่สุด

จากนั้นขอให้ติดต่อผู้ฝากส่งเพื่อให้ผู้ฝากส่งทำเรื่องตรวจสอบที่ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง
เมื่อดำเนินการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วหากพบว่าเกิดการสูญหายหรือเสียหายในเส้นทางไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง จะแจ้งให้ผู้ฝากมาติดต่อรับเงิน ชดใช้ค่าเสียหาย
(สิทธิ์ในการรับเงินชดใช้จะเป็นของผู้ฝากส่ง หากผู้รับประสงค์จะเป็นผู้รับเงิน ผู้ฝากส่งจะต้องทำหนังสือโอนสิทธิ์การรับเงินชดใช้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง ที่ผู้ฝากส่งแจ้งเรื่องร้องเรียนในครั้งแรก)

หากยังไม่ได้รับสิ่งของ ต้องทำอย่างไร

หากยังไม่ได้รับสิ่งของภายในระยะเวลามาตรฐานการนำจ่ายของบริการนั้น ๆ ผู้ใช้บริการสามารถส่งเรื่องสอบสวนผ่านทาง
1) https://www.thailandpost.co.th/un/form/complaints/?form_id=3
2) ทาง E-mail : [email protected]
3) ทางโทรศัพท์ : 1545 หรือ 0 2831 3600
4) เฟซบุ๊ก อินบ็อกซ์ “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” www.facebook.com/thailandpost.co.th

อัตราค่าบริการและประเทศที่เปิดให้บริการ

ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบอัตราค่าบริการและประเทศที่เปิดให้บริการได้ผ่านทางเว็บไซต์  คำนวณอัตราค่าบริการ

อัตราชดใช้กรณีสิ่งของสูญหาย/เสียหาย

1. ไปรษณีย์ลงทะเบียนชดใช้ตามจริงไม่เกิน 1,380 บาท (ไม่รวมค่าฝากส่ง)
2. ePacket ขาออกระหว่างประเทศ จะไม่มีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายในทุกกรณี แต่สามารถใช้บริการ ePacket Plus โดยชำระค่าบริการเพิ่มอีก 30 บาท เพื่อรับความคุ้มครองกรณีเสียหาย/สูญหาย โดยชดใช้สูงถึง 1,500 บาท
3. พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศชดใช้ตามจริงไม่เกิน 1,840 บาทต่อกล่อง และ 207 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมค่าฝากส่ง)
4. ไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ
document : พิจารณาตามจริงไม่เกิน 3,000 บาท
package : พิจารณาตามจริงไม่เกิน 7,000 บาท
5. Courier Post วงเงินชดใช้กรณีสูญหาย/เสียหายเพราะความผิดพลาดของไปรษณีย์จะชดใช้ตามมูลค่าที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน5,000 บาทสำหรับ Document และ 10,000 บาท สำหรับ Package (Merchandise) ทั้งนี้ สามารถใช้คู่กับบริการพิเศษ ได้แก่ บริการไปรษณีย์รับประกันวงเงินรับประกันสูงสุด 1,000 SDR (SDR = Special Drawing Right ค่าเทียบเสมอภาคระหว่างเงินบาทกับสิทธิพิเศษถอนเงินกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี)