Please add Image or Slider Widget in Appearance Widgets Page Banner.
If you would like to use different Widgets on each page, we reccommend Widget Context Plugin.

คำแนะนำการบรรจุ

  1. ขึ้นรูปกล่องตามแบบ
  2. บรรจุ สิ่งของฝากส่งลงในกล่องกรณีที่ เป็นสิ่งของแตกหักง่าย ต้องหุ้มห่อด้วย วัสดุกันกระแทกที่เหมาะกับสิ่งของ และ กรุภายในด้วยวัสดุป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษกระดาษที่ตัด เป็นเส้น เป็นต้น หรือหุ้มห่อแบบใส่กล่อง ไว้ในกล่อง
  3. ปิดฝา กล่องและผนึก เทปกาวทั้ง 3 ด้าน
  4. เขียนชื่อ ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับและผู้ฝากส่งให้ชัดเจน
  5. มัดกล่อง ด้วยเชือกหรือสายรัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

การป้องกันที่ได้ผล 100 % คือ หุ้มห่อแบบใส่กล่องไว้ในกล่อง สำหรับบรรจุสิ่งของที่มีมูลค่าสูงและแตกหักเสียหายได้ง่าย เช่น เลนส์กล้องถ่ายภาพ เป็นต้น

  1. หุ้มห่อสิ่งของแต่ละชิ้นด้วยแผ่นกันกระแทกหรือโฟมที่มีความหนาอย่างน้อย 2 นิ้ว ให้พอดีกับด้านในของกล่อง
  2. ป้องกันการเคลื่อนไหวของสินค้าภายในกล่องระหว่างขนส่งด้วยวัสดุกันกระแทก เช่น กระดาษ หนังสือพิมพ์ที่ย่อยแล้ว เม็ดโฟม หรือวัสดุกันกระแทกอื่นๆ
  3. ห่อกล่องชั้นในด้วยแผ่นกันกระแทกที่มีความหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว หรือใช้เม็ดโฟมหนากรุอย่างน้อย 3 นิ้ว หรือวัสดุกันกระแทกชนิดอื่นบุช่องว่างบน ล่าง และโดยรอบระหว่างกล่องชั้นในและชั้นนอก

การหุ้มห่อสิ่งของส่งทางไปรษณีย์
Q: พี่หนุ่ม!
ถ้าหนูจะส่งของทางไปรษณีย์ต้องทำ อย่างไรบ้างคะ?
A: ส่งอะไรจ๊ะน้อง… ตามนี้เลยจ้า!

แจ้งประเภท/ชนิด และรายการสิ่งของที่ฝากส่งให้เจ้าหน้าที่ให้บริการ หุ้มห่อทราบก่อนเลยครับ

  1. ถ้าไม่เป็นสิ่งของต้องห้าม เจ้าหน้าที่จะได้แนะนำ การหุ้มห่อให้ปลอดภัย และจะประทับตรา “ตรวจสอบแล้ว”
  2. เลือกใช้ “กล่องและวัสดุหุ้มห่อ” ที่มีความแข็งแรงและเหมาะสมกับสิ่งของฝากส่ง พี่หนุ่มแนะนำ ! ให้ใช้กล่องที่ ปณท ทำจำหน่ายดีที่สุดครับ
  3. ป้องกันสิ่งของด้วย “วัสดุหุ้มห่อ” อีกชั้นหนึ่ง เพื่อไม่ให้สิ่งของเสียหายหรือทำอันตรายต่อผู้อื่นได้ (เช่น หุ้มห่อของมีคมให้มิดชิด, หุ้มห่อของเหลวด้วยการใส่ถุงพลาสติกชั้นหนึ่งก่อน)
  4. “หุ้มห่อสิ่งของ” ให้เรียบร้อยและแน่นหนา เพื่อไม่ทำให้สิ่งของพลัดติดไปกับของผู้อื่นได้
  5. หุ้มห่อสิ่งของแต่ละชนิดตาม “ข้อกำหนดของไปรษณีย์” (เช่น ของตีพิมพ์หรือพัสดุย่อยจะต้องหุ้มห่อให้พนักงานรับฝากสามารถเปิดตรวจสอบได้)
  6. หากผิดจากหลักเกณฑ์ของไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่ให้บริการหุ้มห่อหรือรับฝาก
  7. จะแนะนำให้ผู้ฝากส่งดำเนินการหุ้มห่อใหม่
  8. หากไม่หุ้มห่อใหม่ ปณท อาจปฏิเสธการรับฝากส่งได้

อย่าลืมหุ้มห่อให้มั่นคง/แข็งแรงนะครับ…

คำแนะนำ ควรเลือกใช้กล่องสำหรับส่งสิ่งของด้วยขนาดที่เหมาะสมกับสิ่งของ หากมีที่ว่างภายในกล่องให้กรุด้วย วัสดุกันกระแทก เพื่อป้องกันสิ่งของกระแทกกันระหว่างขนส่ง ขนาดกล่องต้องไม่ต่ำกว่า 9 x 14 ซม.

การใช้วัสดุหุ้มห่อประเภทต่างๆ

  1. ซองจดหมาย/ซองเอกสาร
  2. เหมาะสำหรับใช้ฝากส่ง “เอกสาร” เท่านั้น
  3. ขนาดซองไม่ต่ำกว่า 9 X 14 ซม.
  4. ปิดผนึกให้มั่นใจได้ว่าสิ่งของภายในจะไม่หลุดลอดออกมาระหว่างการขนส่ง
  5. ปิดผนึกเทปกาวตรงฝาซองจดหมายทุกครั้งด้วย ก็จะทำให้แน่นหนายิ่งขึ้น

ซองกันกระแทก

  1. ใช้สำหรับฝากส่งสิ่งของอื่นๆ ที่ “นอกเหนือจากเอกสาร” กรณีเป็นสิ่งของที่แตกหักง่าย ให้บรรจุในเครื่องป้องกันหรือพันด้วยวัสดุกันกระแทกแทรกอีกชั้น
  2. จะต้องปิดผนึกฝาซองให้แน่นหนา มั่นใจได้ว่าสิ่งบรรจุภายในไม่หลุดลอดระหว่างการขนส่ง
  3. ปิดผนึกด้วยเทปกาวตรงฝาซองจดหมายด้วย ก็จะทำให้แน่นหนายิ่งขึ้น

กล่องสำเร็จรูป

  1. ใช้กล่องสำเร็จรูปที่ ปณท ทำจำหน่าย มีมาตรฐานและความแข็งแรง
  2. ขนาดกล่องไม่ควรใช้กล่องที่มีขนาดต่ำกว่า 9×14 ซม.
  3. เลือกกล่องให้พอดีกับขนาดของสิ่งของ กรุภายในช่องว่าง ของกล่องด้วยวัสดุป้องกันความเสียหาย เพื่อมิให้สิ่งของ เคลื่อนที่ และกระทบกระแทกระหว่างสิ่งของที่ฝากส่ง
  4. ผนึกปิดกล่องด้วยเทปกาวให้แน่นหนา โดยติดเทปกาวปิด ทุกรอยต่อให้เรียบร้อย ทั้งด้านบนและด้านล่างของกล่อง โดยใช้วิธีการติดเทปกาวแบบ
  5. ผูกเชือก/รัดสายรัดพลาสติก ให้เรียบร้อย

หุ้มห่อง่ายๆ ด้วย 6 ขั้นตอน

1. เลือกกล่องให้เหมาะ กับสิ่งของที่ฝากส่ง

2. ขึ้นรูปกล่องตามแบบ

3. บรรจุ สิ่งของฝากส่งลงในกล่องกรณีที่ เป็นสิ่งของแตกหักง่าย ต้องหุ้มห่อด้วย วัสดุกันกระแทกที่เหมาะกับสิ่งของ และ กรุภายในด้วยวัสดุป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษกระดาษที่ตัด เป็นเส้น เป็นต้น หรือหุ้มห่อแบบใส่กล่อง ไว้ในกล่อง

4. ปิดฝา กล่องและผนึก เทปกาวทั้ง 3 ด้าน

5. เขียนชื่อ ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับและผู้ฝากส่งให้ชัดเจน

6. มัดกล่อง ด้วยเชือกหรือสายรัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest