- ขึ้นรูปกล่องตามแบบ
- บรรจุ สิ่งของฝากส่งลงในกล่องกรณีที่ เป็นสิ่งของแตกหักง่าย ต้องหุ้มห่อด้วย วัสดุกันกระแทกที่เหมาะกับสิ่งของ และ กรุภายในด้วยวัสดุป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษกระดาษที่ตัด เป็นเส้น เป็นต้น หรือหุ้มห่อแบบใส่กล่อง ไว้ในกล่อง
- ปิดฝา กล่องและผนึก เทปกาวทั้ง 3 ด้าน
- เขียนชื่อ ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับและผู้ฝากส่งให้ชัดเจน
- มัดกล่อง ด้วยเชือกหรือสายรัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
การป้องกันที่ได้ผล 100 % คือ หุ้มห่อแบบใส่กล่องไว้ในกล่อง สำหรับบรรจุสิ่งของที่มีมูลค่าสูงและแตกหักเสียหายได้ง่าย เช่น เลนส์กล้องถ่ายภาพ เป็นต้น
- หุ้มห่อสิ่งของแต่ละชิ้นด้วยแผ่นกันกระแทกหรือโฟมที่มีความหนาอย่างน้อย 2 นิ้ว ให้พอดีกับด้านในของกล่อง
- ป้องกันการเคลื่อนไหวของสินค้าภายในกล่องระหว่างขนส่งด้วยวัสดุกันกระแทก เช่น กระดาษ หนังสือพิมพ์ที่ย่อยแล้ว เม็ดโฟม หรือวัสดุกันกระแทกอื่นๆ
- ห่อกล่องชั้นในด้วยแผ่นกันกระแทกที่มีความหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว หรือใช้เม็ดโฟมหนากรุอย่างน้อย 3 นิ้ว หรือวัสดุกันกระแทกชนิดอื่นบุช่องว่างบน ล่าง และโดยรอบระหว่างกล่องชั้นในและชั้นนอก
การหุ้มห่อสิ่งของส่งทางไปรษณีย์
Q: พี่หนุ่ม!
ถ้าหนูจะส่งของทางไปรษณีย์ต้องทำ อย่างไรบ้างคะ?
A: ส่งอะไรจ๊ะน้อง… ตามนี้เลยจ้า!
แจ้งประเภท/ชนิด และรายการสิ่งของที่ฝากส่งให้เจ้าหน้าที่ให้บริการ หุ้มห่อทราบก่อนเลยครับ
- ถ้าไม่เป็นสิ่งของต้องห้าม เจ้าหน้าที่จะได้แนะนำ การหุ้มห่อให้ปลอดภัย และจะประทับตรา “ตรวจสอบแล้ว”
- เลือกใช้ “กล่องและวัสดุหุ้มห่อ” ที่มีความแข็งแรงและเหมาะสมกับสิ่งของฝากส่ง พี่หนุ่มแนะนำ ! ให้ใช้กล่องที่ ปณท ทำจำหน่ายดีที่สุดครับ
- ป้องกันสิ่งของด้วย “วัสดุหุ้มห่อ” อีกชั้นหนึ่ง เพื่อไม่ให้สิ่งของเสียหายหรือทำอันตรายต่อผู้อื่นได้ (เช่น หุ้มห่อของมีคมให้มิดชิด, หุ้มห่อของเหลวด้วยการใส่ถุงพลาสติกชั้นหนึ่งก่อน)
- “หุ้มห่อสิ่งของ” ให้เรียบร้อยและแน่นหนา เพื่อไม่ทำให้สิ่งของพลัดติดไปกับของผู้อื่นได้
- หุ้มห่อสิ่งของแต่ละชนิดตาม “ข้อกำหนดของไปรษณีย์” (เช่น ของตีพิมพ์หรือพัสดุย่อยจะต้องหุ้มห่อให้พนักงานรับฝากสามารถเปิดตรวจสอบได้)
- หากผิดจากหลักเกณฑ์ของไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่ให้บริการหุ้มห่อหรือรับฝาก
- จะแนะนำให้ผู้ฝากส่งดำเนินการหุ้มห่อใหม่
- หากไม่หุ้มห่อใหม่ ปณท อาจปฏิเสธการรับฝากส่งได้
อย่าลืมหุ้มห่อให้มั่นคง/แข็งแรงนะครับ…
คำแนะนำ ควรเลือกใช้กล่องสำหรับส่งสิ่งของด้วยขนาดที่เหมาะสมกับสิ่งของ หากมีที่ว่างภายในกล่องให้กรุด้วย วัสดุกันกระแทก เพื่อป้องกันสิ่งของกระแทกกันระหว่างขนส่ง ขนาดกล่องต้องไม่ต่ำกว่า 9 x 14 ซม.
การใช้วัสดุหุ้มห่อประเภทต่างๆ
- ซองจดหมาย/ซองเอกสาร
- เหมาะสำหรับใช้ฝากส่ง “เอกสาร” เท่านั้น
- ขนาดซองไม่ต่ำกว่า 9 X 14 ซม.
- ปิดผนึกให้มั่นใจได้ว่าสิ่งของภายในจะไม่หลุดลอดออกมาระหว่างการขนส่ง
- ปิดผนึกเทปกาวตรงฝาซองจดหมายทุกครั้งด้วย ก็จะทำให้แน่นหนายิ่งขึ้น
ซองกันกระแทก
- ใช้สำหรับฝากส่งสิ่งของอื่นๆ ที่ “นอกเหนือจากเอกสาร” กรณีเป็นสิ่งของที่แตกหักง่าย ให้บรรจุในเครื่องป้องกันหรือพันด้วยวัสดุกันกระแทกแทรกอีกชั้น
- จะต้องปิดผนึกฝาซองให้แน่นหนา มั่นใจได้ว่าสิ่งบรรจุภายในไม่หลุดลอดระหว่างการขนส่ง
- ปิดผนึกด้วยเทปกาวตรงฝาซองจดหมายด้วย ก็จะทำให้แน่นหนายิ่งขึ้น
กล่องสำเร็จรูป
- ใช้กล่องสำเร็จรูปที่ ปณท ทำจำหน่าย มีมาตรฐานและความแข็งแรง
- ขนาดกล่องไม่ควรใช้กล่องที่มีขนาดต่ำกว่า 9×14 ซม.
- เลือกกล่องให้พอดีกับขนาดของสิ่งของ กรุภายในช่องว่าง ของกล่องด้วยวัสดุป้องกันความเสียหาย เพื่อมิให้สิ่งของ เคลื่อนที่ และกระทบกระแทกระหว่างสิ่งของที่ฝากส่ง
- ผนึกปิดกล่องด้วยเทปกาวให้แน่นหนา โดยติดเทปกาวปิด ทุกรอยต่อให้เรียบร้อย ทั้งด้านบนและด้านล่างของกล่อง โดยใช้วิธีการติดเทปกาวแบบ
- ผูกเชือก/รัดสายรัดพลาสติก ให้เรียบร้อย
หุ้มห่อง่ายๆ ด้วย 6 ขั้นตอน
1. เลือกกล่องให้เหมาะ กับสิ่งของที่ฝากส่ง
2. ขึ้นรูปกล่องตามแบบ
3. บรรจุ สิ่งของฝากส่งลงในกล่องกรณีที่ เป็นสิ่งของแตกหักง่าย ต้องหุ้มห่อด้วย วัสดุกันกระแทกที่เหมาะกับสิ่งของ และ กรุภายในด้วยวัสดุป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษกระดาษที่ตัด เป็นเส้น เป็นต้น หรือหุ้มห่อแบบใส่กล่อง ไว้ในกล่อง
4. ปิดฝา กล่องและผนึก เทปกาวทั้ง 3 ด้าน
5. เขียนชื่อ ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับและผู้ฝากส่งให้ชัดเจน
6. มัดกล่อง ด้วยเชือกหรือสายรัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง