Please add Image or Slider Widget in Appearance Widgets Page Banner.
If you would like to use different Widgets on each page, we reccommend Widget Context Plugin.

ข้อมูลศุลกากร

กระบวนการทางศุลกากรของของที่นําเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศเมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้คัดแยกของที่นําเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศออกเป็น 3 ประเภทแล้ว จะปฏิบัติกับสิ่งของที่คัดแยกไว้ ดังนี้

ประเภทที่ 1 ของยกเว้นอากร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด จะนําส่งที่บ้านของผู้รับ

ประเภทที่2 ของซึ่งมีราคา FOB รวมกันไม่เกิน 40,000 บาท เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเปิดตรวจและประเมินอากรต่อหน้าพนักงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยพนักงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด จะจัดทํา และส่งใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศไปให้ผู้รับ โดยหีบห่อที่ถูกเปิดตรวจจะมีเทปกาว พลาสติกปิดรอยเปิดและประทับข้อความไว้ว่า “เปิดตรวจ/ปิดผนึก โดยพนักงานศุลกากร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ไปรษณีย์EXAMINED/SEALED BY CUSTOMS AND POSTAL OFFICERS” เมื่อผู้รับได้รับใบแจ้งฯ ให้ผู้รับนําใบแจ้งฯ ไปติดต่อ ณ ที่ทําการไปรษณีย์ที่ระบุไว้ในใบแจ้งฯ เพื่อชําระอากรและรับของ หากผู้รับเห็นว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรประเมินราคาของสูงกว่าราคาที่ซื้อจริง และผู้รับ มีเอกสารหลักฐานยืนยัน เช่น หลักฐานการซื้อขาย หลักฐานการชําระเงิน เป็นต้น ผู้รับสามารถโต้แย้งการประเมิน ภาษีอากรได้โดยมีกระบวนการดังนี้

  1. ผู้รับทําคําร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร โดยพิมพ์แบบคําร้องจาก www.postalcustoms.com หรือขอรับแบบฟอร์มคําร้องได้ณ ที่ทําการไปรษณีย์และสามารถยื่นคําร้อง ณ ที่ทําการไปรษณีย์ปลายทาง หรือยื่นต่อส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์โดยเตรียมเอกสารดังนี้
    1.  คําร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร
    2.  ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
    3. เอกสารหลักฐาน เช่น หลักฐานการซื้อขาย หลักฐานการชําระเงิน เป็นต้น กรณีที่ยื่นคําร้องโต้แย้งการประเมิน ภาษีอากรต่อส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ให้ผู้รับสําเนาแจ้งให้ที่ทําการไปรษณีย์ทราบด้วย ทั้งนี้ผู้รับต้องยังไม่ชําระค่าภาษีอากร และระบุความประสงค์ขอทราบผลการพิจารณาในคําร้องว่าจะรอรับแจ้งผลการพิจารณาจาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัดและไปรับสิ่งของ ณ ที่ทําการไปรษณีย์ปลายทาง หรือติดต่อขอทราบผลและรับสิ่งของด้วยตนเอง ที่ฝ่ายตรวจคัดไปรษณียภัณฑ์ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ แจ้งวัฒนะ
  2. พนักงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ณ ที่ทําการไปรษณีย์ปลายทาง จะส่งหีบห่อที่ขอโต้แย้ง การประเมินภาษีอากร พร้อมคําร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่าง ประเทศและเอกสารหลักฐานให้กับส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์เพื่อพิจารณา
  3. ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามวิธีที่ผู้ยื่นคําร้องแจ้งความประสงค์ไว้ต่อไป

ประเภทที่ 3 ของอื่น ๆ นอกจากประเภทที่1 และประเภทที่2 ของจะถูกเก็บรักษาในโรงพักสินค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด หรือส่งไปที่สํานักงานหรือด่านศุลกากร เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้รับของต้องมาติดต่อที่ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์หรือสํานักงานหรือด่านศุลกากร ตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งฯ เพื่อตรวจสอบของพร้อมเจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประเมินอากรขาเข้า และภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหากพบว่าเป็นของต้องมีใบอนุญาตนําเข้า ผู้รับของต้องจัดเตรียมใบอนุญาต หรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อผู้รับของปฏิบัติครบถ้วนตามกฎหมายอื่นและชําระค่าภาษีอากร ผู้รับสามารถรับของไปจากอารักขาศุลกากรเอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อขอรับของ มีดังนี้

  1. กรณีขอรับสิ่งของด้วยตนเอง
    1. ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
    2. บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับของ เป็นชาวต่างชาติ) ของผู้มีชื่อรับของตามที่ระบุในใบแจ้งฯ
  2. กรณีมอบอํานาจให้ผู้อื่นรับสิ่งของแทน
    1. ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีชื่อรับของบันทึก รายละเอียดการมอบอํานาจให้แก่ผู้รับมอบอํานาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองทั้ง 2 ฝ่าย ที่ด้านหลังใบแจ้งฯ
    2. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจ และลงนามรับรองสําเนา
    3. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ
  3. กรณีผู้รับสิ่งของเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจํากัด
    1. ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีอํานาจลงนามเพื่อมอบ อํานาจให้ผู้รับมอบอํานาจไปดําเนินการแทน พร้อมประทับตราบริษัทที่ด้านหลังใบแจ้งฯ เพื่อมอบอํานาจให้ผู้รับ มอบอํานาจไปดําเนินการแทน
    2. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ของผู้มีอํานาจลงนามในเอกสารผูกพันนิติบุคคลนั้น ๆ และลงนามรับรองสําเนา
    3. สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้าน (ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน) และลงนามรับรองสําเนาพร้อมประทับตราบริษัท
    4. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ

ในขณะเปิดตรวจ มีวิธีพิจารณาของที่จัดอยู่ในประเภทที่3 แยกออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้

  1. ของที่มีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท และไม่ใช่ของต้องกํากัด จากการเปิดตรวจของพบว่า ของมีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท และไม่ใช่ของต้องกํากัด เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประเมินอากรขาเข้าและ ออกใบเสร็จรับเงิน เมื่อผู้รับของชําระอากรครบถ้วน สามารถรับของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ซึ่งวิธีการนี้ เรยกว่าี “การเก็บอากรปากระวาง”
  2. ของที่มีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท แต่เป็นของต้องกํากัด ผู้รับต้องติดต่อที่ส่วนบริการ ศุลกากรไปรษณีย์หรือด่านศุลกากรตามที่ระบุในใบแจ้งฯ เพื่อทําใบขนสินค้าขาเข้า โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    1. กรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ผู้รับของต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการ ศุลกากรที่ฝ่ายบริการศุลกากรไปรษณีย์
    2. ผู้รับของส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์โดยสามารถใช้บริการ Service Counter ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด
    3. ผู้รับของชําระภาษีอากร
    4. ผู้รับของติดต่อคลังสินค้าเพื่อนําของมาตรวจปล่อย
    5. เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจของและบันทึกการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์
    6. ผู้รับของนําของไปจากอารักขาของศุลกากร
  3. ของที่มีราคา FOB เกิน 40,000 บาท และ/หรือเป็นของต้องกํากัด ผู้รับต้องติดต่อที่ส่วนบริการ ศุลกากรไปรษณีย์หรือด่านศุลกากรตามที่ระบุในใบแจ้งฯ เพื่อทําใบขนสินค้าขาเข้า โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในข้อ
Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest